วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

อาหารและการให้อาหาร


ปกติแล้วการเลี้ยงไก่พื้นบ้านมักจะปล่อยให้ไก่หาอาหารกินเองตามมีตามเกิด หรือตามธรรมชาติ โดยที่ผู้เลี้ยงอาจมีการให้อาหารเพิ่มเติมบ้างในช่วงตอนเช้า หรือตอนเย็นอาหารที่ให้ก็เป็นพวกข้าวเปลือก ปลายข้าว หรือข้าวโพด เป็นต้น จากสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ทำให้ความสมบูรณ์ของไก่ผันแปรไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ คือ ในช่วงฤดูฝน ไก่จะมีอาหารค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับทั้งเมล็ดวัชพืชและหนอนแมลงในปริมาณมาก ซึ่งอาหารทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งของไวตามินและโปรตีนที่สำคัญ ตามธรรมชาติ ทำให้ไก่ในฤดูกาลนี้มีการเจริญเติบโตและความแข็งแรงมากกว่าไก่ในฤดูอื่น ๆ
ส่วนในฤดูเก็บเกี่ยว และนวดข้าว ไก่ก็มีโอกาสที่จะได้รับเศษอาหารที่ตกหล่นมาก ทำให้ไก่มีสภาพร่างกายอ้วนท้วนสมบูณ์พอสมควร ส่วนในฤดูแล้งมักจะประสพปัญหาไก่ขาดแคลนอาหารตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องน้ำซึ่งมักจะขาดอยู่เสมอ จำเป็นต้องเตรียมไว้ให้ไก่ด้วย
หลักในการให้อาหารไก่พื้นบ้านมีดังต่อไปนี้
1. ควรซื้อหัวอาหารเพื่อเอามาผสมกับอาหารที่ผู้เลี้ยงมีอยู่เช่น ผสมกับปลายข้าว หรือรำเป็นต้น อาหารผสมนี้ใช้เลี้ยงไก่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่เล็ก จะทำให้ไก่ที่เลี้ยงโตเร็วและแข็งแรง
2. การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่ควรคำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไก่ด้วย
3. ถ้าเป็นไปได้ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่บางและปัญหาการจิกกินไข่ของแม่ไก่
4. ควรนำหญ้าขนหรือพืชตระกูลถั่วบางชนิดเช่น ถั่วฮามาต้า ใบกระถิน หรือเศษใบพืชต่าง ๆ เช่น ใบปอ ใบมัน เป็นต้น นำมาสับให้ไก่กินจะทำให้ไก่ได้รับไวตามินและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น
5. การใช้แสงไฟล่อแมลงในตอนกลางคืน นำแมลงนั้นมาเป็นอาหารไก่จะทำให้ไก่ได้อาหารโปรตีนอีกทางหนึ่งนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืชอีกด้วย
6. ควรมีภาชนะสำหรับใส่อาหารและน้ำโดยเฉพาะ โดยทำจากวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ เช่นยางรถยนต์ หรือไม้ไผ่ ภาชนะสำหรับให้น้ำและอาหารควรวางให้สูงระดับเดียวกับหลังของตัวไก่และใส่อาหารเพียง 1 ใน 3 ก็พอเพื่อให้หกเรี่ยราด
สำหรับน้ำนั้นควรใช้น้ำที่สะอาดให้ไก่ดื่มกินตลอดเวลา ส่วนอาหารอาจจะให้เฉพาะตอนเช้า และเย็นเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นให้ไก่หาอาหารกินเอง 7. สำหรับอาหารลูกไก่ ควรเป็นอาหารที่ละเอียด ย่อยง่าย และให้ทีละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการย่อยอาหารของลูกไก่ต้องทำงานหนักเกินไป
8. ในช่วงการให้ไข่และฟักไข่ของแม่ไก่ ควรมีอาหารเสริมเป็นพิเศษสำหรับแม่ไก่ซึ่งจะช่วยให้แม่ไก่แข็งแรงไม่ทรุดโทรมเร็ว และไม่ต้องไปหากินไกล ๆ

9. ในระยะการกกลูกไก่ในคอกนั้น จำเป็นต้องซื้ออาหารสูตรผสม (อาหารไก่เล็ก) ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมาให้ลูกไก่กิน การให้อาหารพวกปลายข้าว ข้าวเปลือกหรือรำ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้รวมกันจะไม่ได้ผล เพราะจะทำให้ลูกไก่แคระแกรน ไม่แข็งแรง และตายในที่สุด ดังนั้นจึงควรหาซื้ออาหารสูตรผสมที่มีโปรตีนเมื่อพ้นระยะการกกแล้วในช่วงเวลากลางวันก็สามารถปล่อยให้ไก่ออกหาอาหารตามธรรมชาติบ้าง ในช่วงก่อนค่ำก็ไล่ไก่เข้าคอกและควรให้อาหารสูตรสำเร็จเสริมให้ไก่ หรือจะให้เศษอาหารที่เหลือ หรือพวกปลายข้าว รำข้าว ก็ได้
10. ในกรณีที่เลี้ยงไก่จำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือแหล่งอาหารตามธรรมชาติว่ามีเพียงพอต่อจำนวนไก่หรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอก็ควรซื้ออาหารสูตรผสมให้กินเสริมด้วย มิเช่นนั้นจะพบว่าไก่ที่เลี้ยงจะผอม ไม่แข้งแรง และมักแสดงอาหารป่วยจนถึงตายในที่สุด
11. นอกจากการใช้สูตรอาหารสำเร็จมาใช้เลี้ยงไก่แล้ว ยังมีอาหารอีกรูปแบบหนึ่งที่มีจำหน่ายอยู่ในรูปเข้มข้น หรือเรียกกันว่าหัวอาหาร ซึ่งสามารถซื้อนำมาผสมกับวัตถุดิบในท้องถิ่นได้ เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด หรือมันสำปะหลังตากแห้ง เป็นต้น การผสมมักจะคำนึงถึงสูตรอาหารที่จะใช้ว่าจะเลี้ยงในระยะลูกไก่หรือไก่รุ่น เมื่อทราบอายุไก่ที่เลี้ยงแล้วก็นำหัวอาหาร และวัตถุดิบที่มีอยู่มาผสมกันตามสัดส่วนที่คำนวณไว้ดังตัวอย่างเช่น ถ้าหัวอาหารประกอบด้วยโปรตีน 42 เปอร์เซ็นต์ จะนำมาผสมกับปลายข้าวที่ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำเป็นสูตรอาหารให้ได้โปรตีน 19 เปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้เลี้ยงลูกไก่ การผสมแบบนี้สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ ดังนี้
ขั้นตอนการคำนวณคือ
1. หาความแตกต่างระ

หว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของหัวอาหารกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้องการผสม ในกรณีนี้คือ 42-19 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 23
2. หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของปลายข้าวกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้องการผสม คือ 19-8 ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 11
3. จากข้อ 1 และข้อ 2 สรุปผลได้ดังนี้คือ ถ้าเรานำหัวอาหาร จำนวน 11 ส่วน มาผสมกับปลายข้าว จำนวน 23 ส่วน เราก็สามารถผสมสูตรอาหารไก่ที่ประกอบด้วยโปรตีน ประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์ได้

การปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นบ้าน


จากสภาพการเลี้ยงที่ปล่อยตามธรรมชาติ และขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ทำให้การที่จะนำไก่พันธุ์ดีเข้าไปเผยแพร่ เพี่อขจัดข้อเสียของไก่พื้นบ้านดังที่กล่าวมา แล้วเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไก่พันธุ์ดีนั้น ๆ ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำ เสมอ ถ้าเอามาเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติจะไม่ ได้ผลเท่าที่ควร ฉะนั้น การที่จะ ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่พันธุ์แท้ในสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ด่อนข้างจะลำบาก อย่างไรก็ ตามยังมีหนทางที่จะปรับปรุงไก่พื้นบ้านให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นโดยการคงสภาพ ข้อดีของไก่พื้นบ้านไว้ และในขณะเดียวกันก็แก้ไขข้อเสียของไก่พื้นบ้านโดยการหา ลักษณะที่ดีเด่นของไก่พันธุ์อื่นเข้ามาแทน การปรับปรุงลักษณะเช่นนี้สามารถทำได้ ง่าย ๆ โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์พื้นบ้านกับไก่พันธุ์แท้ที่มีลักษณะที่เรา ต้องการ ไก่ที่นำมาพิจารณา ในกรณีนี้ต้องเป็นไก่ที่เป็นพันธุ์ที่สามารถให้ผลผลิตทั้ง เนื้อและไข่ และค่อนข้างทนต่อสภาพภูมิอากาศแบบบ้านเราได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาให้ดี แล้วจะพบว่า ไก่พันธุ์โรดไอแลนด์เรด ซึ่งนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่าไก่โรดนั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนดังที่กล่าวมา ดังนั้นเมื่อนำไก่ทั้งสองพันธุ์มาผสมข้ามพันธุ์แล้ว จะได้ไก่ที่ มีการเจริญเติบโตและการให้ไข่ที่ดีกว่าไก่พื้นบ้านเดิม นอกจากนี้มีความสามารถใน การหากินในสภาพการเลี้ยงแบบปล่อยลานบ้านเหมือนกับไก่พื้นบัานไดัอีกด้วย
นอกเหนือจากการปรับปรุงพันธู์ผู้เลี้ยงควรจะปฏิบัติดังนี้คือ

1. ควรมีการคัดเลือกลักษณะไก่ที่ดีเอาไว้ทำพันธุ์ เพื่อทดแทนพ่อแม่พันธุ์รุ่น แรก ๆ อยู่ตลอดเวลา ปกติผู้เลี้ยงไก่มักจะมีการคัดเลือกลักษณะนี้ในทางกลับกัน คือ ไก่ตัวไหนที่โตเร็วแข็งแรงแทนที่จะถูกเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป มักจะถูกฆ่า เพือใช้บริโภคก่อน เหลือแต่พวกที่มีลักษณะไม่ดีไว้ทำพันธุ์ต่อไป ทำให้ ด้ลูกในรุ่น ต่อ ๆ ไปมีลักษณะเลวลง
2. ไม่ควรปล่อยให้พ่อพันธุ์ตัวหนึ่งตัวใดคุมฝูงนานเกินไป เนื่องจากจะทำให้ เกิดปัญหาเกี่ยวกับการผสมเลือดชืดมากขึ้น ซึ่งได้แก่ปัญหาอัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำ ปริมาณไข่ลดลงกว่าปกติและมีอัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เป็นต้น ถ้าไก่พ่อพันธุ์มีจำนวนจำกัด อาจใช้วิธีแลกเปลี่ยนพ่อพันธุ์กับเพื่อนบ้านก็ได

การผสมเลือดชิด การผสมสายเลือดชิด หมายถึง การนำลูกที่เกิดจากพ่อแม่ เดียวกัน หรือที่เกิดจากพ่อตัวเดียวกัน แต่ต่างแม่ หรือแม่ตัวเดียวกันแต่ต่างพ่อ มาผสมกันเอง หรือการนำพ่อหรือแม่มาผสมกับลูก การผสมสายเลือดชิดมักก่อให้ เกิดลักษณะผิดปกติ หรือลักษณะที่เลวร้ายขี้นมาก เช่น อัตราการฟักออกต่ำ ไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม อัตราการเลี้ยงรอดต่ำ ไม่แข็งแรงเป็นต้น
การผสมสายเลือดชิดจะพบได้ง่ายในสภาพการเลี้ยงตามชนบท เพราะ เกษตรกรมักจะเลี้ยงไก่โดยใช้พ่อพันธุ์ประมาณ 1-2 ตัว ผสมกับแม่พันธุ์ จำนวนน้อย ตัว ดังนั้นลูกไก่ที่เกิดมาส่วนมากจะเป็นพี่น้องกันทางสายเลือด และถูกเลี้ยงให้ โตมาพร้อม ๆ กันโดยไม่มีพันธุ์ประวัติจึงไม่ทราบว่าตัวใดมาจากพ่อตัวไหน แม่ตัว ไหน เมื่อไก่เริ่มโตถึงวัยผสมพันธุ์ ไก่ที่เป็นพี่น้องกันก็อาจมาผสมกันเองหรืออาจ กลับไปผสมกับพ่อแม่ของตัวเอง ชี่งก่อให้เกิดปัญหาการเลี้ยงไก่ของชาวบ้านต้อง ประสบกับอัตราการตายที่สูงและ มีสุขภาพไม่แข็งแรง

การแก้ไขส่าหรับปัญหาการผสมเลือดชิดกัน สามารถทำได้โดยนำไก่รุ่นเพศผู้ ไปแลกกับไก่บ้านเพศผู้ของหมู่บ้านอื่นมาใช้เพื่อคุมฝูงตัวเมียที่เก็บไว้ ส่วนไก่เพศผู้ที่ เหลืออาจจำหน่ายเพื่อนำเงินมาใช้ภายในครอบครัวได้ หรือจะใช้วิธีจำหน่ายไก่เพศผู้ ให้หมด แล้วไปชื้อพ่อไก่รุ่นจากหมู่บ้านอื่น หรือแหล่งอื่นมาทดแทน ซึ่งการทำเช่นนี้ จะช่วยให้ลูกไก่ที่เกิดมามีจำนวนเพิ่มขึ้น ลูกไก่แข็งแรง อัตราการเลี้ยงรอดสูง ขึ้น นอกจากนั้นยังจะทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้ดีขึ้นอีกด้วย
3. ควรมีการคัดพ่อแม่พันธุ์ที่อายุมาก ๆ ออกจากฝูง ทั้งนี้เพี่อปัองกันไม่ให้ อัตราการผสมติดของไก่ในฝูงต่ำ
4. มีอัตราส่วนระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่เหมาะสมคือ ตัวผู้ต่อตัวเมีย ประมาณ 1 : 5 ถึง 1 : 10 ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะจะทำให้มีไข่ที่ไม่มีเชื้อมากขึ้น

การฟักไก่


ลักษณะการฟักไข่ของแม่ไก่บ้าน ยังจัดได้ว่าเป็นลักษณะที่มีคุณประโยชน์ต่อเกษตรกรตามชนบทเป็นอย่างยิ่งในทางตรงข้าม การเลี้ยงไก่ในเรือนโรงที่เลี้ยงกันแบบอุตสาหกรรมนั้น ลักษระการฟักไข่ของแม่ไก่จะไม่เป็นที่พึงปรารถนา ดังนั้นไก่ที่เลี้ยงในเรือนโรงใหญ่ ๆ ทั้งไก่เนื้อหรือไก่ไข่ จะไม่พบว่ามีลักษณะการฟักหลงเหลืออยู่อันเนื่องมาก ลักษณะดังกล่าว ได้ถูกคัดทิ้งเพื่อเร่งให้แม่ไก่สามารถให้ไข่ได้มากขึ้น
การฟักไข่ของแม่ไก่ยังมีความจำเป็นต่อเกษตรกรเพราะ
1. เกษตรกรมีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ต่อไก่พื้นบ้านของตนน้อยมาก ส่วนใหญ่มักเลี้ยงปล่อยไปตามยถากรรม
2. การขยายพันธุ์ของไก่พื้นบ้าน ยังต้องอาศัยวิธีตามธรรมชาติ คือแม่ไก่ฟักเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ต้องลงทุนสูง
3. เกษตรกรยังไม่สามารถที่จะจัดซื้อตู้ฟักไข่มาใช้เองได้
4. ไม่มีการคัดทิ้งลักษณะการฟัก ในทางตรงข้ามกลับคัดแต่แม่ไก่ที่ฟักไข่ดีเก็บไว้ แล้วมักคัดทิ้งไก่ที่ให้ไข่ดก แต่ฟักไข่ไม่ค่อยดี
เมื่อไก่ที่เลี้ยงอายุได้ประมาณ 7 เดือน ก็จะเริ่มให้ไข่ ผู้เลี้ยงต้องเตรียมภาชนะสำหรับให้แม่ไก่วางไข่อาจจะป็นตะกร้าแบน ๆ รองด้วยฟางข้าวเอาไปวางไว้ตรงจุดใด จุดหนึ่งที่ค่อนข้างจะมืดในคอก หรือในเล้าที่ใช้เลี้ยงไก่ ถ้าหากไม่ได้เตรียมสิ่งดังกล่าวนี้ไว้แม่ไก่จะไปไข่ตามบริเวณในซอกกองไม้ หรือบนยุ้งฉาง ซึ่งอาจทำให้หาไม่พบ และจะทำให้ไข่เน่าเสียไปได้

1. อุปกรณ์และวิธีปฏิบัติสำหรับการฟักไข่ ควรเตรียมอุปกรณ์บางชนิดที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการฟักไข่ของแม่ไก่ เพื่อช่วยให้อัตราการฟักออกดีขึ้นดังนี้
1.1 เตรียมตะกร้า หรือกล่องกระดาษที่ไม่ลึกเกินไป และปูรองพื้นด้วยฟางข้าวที่สะอาดแล้วนำไปวางในมุมมืดที่อากาศสามารถ่ายเทได้สะดวก
1.2 ในระยะแรก ๆ ของการให้ไข่ ควรเก็บไข่ในตะกร้าหรือกล่องทุกวัน ในฤดูร้อนไข่ที่เก็บในฟองแรก ๆ มักฟักไม่ออกเป็นตัว ควรนำไปปรุงเป็นอาหารรับประทานดีกว่าที่จะปล่อยให้ไข่เน่าเสียโดยเปล่าประโยชน์
1.3 หลัจากเก็บไข่จากตะกร้าหรือรังไข่แล้ว ควรปิดรังไข่ในเวลากลางคืน เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่ถ่ายมูลลงในรังซึ่งมีผลทำให้ไข่ฟักสกปรกและอาจเน่าเสียในระหว่างการฟักได้ง่าย
1.4 ถ้ามีตู้เย็น ควรเก็บไข่ฟักไว้ในตู้เย็น โดยหันเอาด้านป้านของไข่คว่ำลงและภาย ในตู้เย็นควรวางขันใส่น้ำไว้เพื่อเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ภายในตู้ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำระเหยจากไข่ในปริมาณมากเกินไป
1.5 ในกรณีที่ไม่มีตู้เย็น ควรนำไข่มาวางในบริเวณร่มเย็นที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก แดดส่องไม่ถึง และเป็นบริเวณที่สะอาด โดยวางไข่เอาด้านป้านคว่ำลงไม่ควรล้างไข่ด้วยน้ำ แต่ถ้าไข่สกปรก ให้ใช้ผ้าสะอาด เช็ดบริเวณรอยเปื้อนนั้น ถ้าไข่สกปรกมาก ไม่ควรนำไปฟัก
1.6 เมื่อพบว่า แม่ไก่ให้ไข่มากพอควร และเริ่มสังเกตเห็นแม่ไก่หมอบอยู่ในรังไข่เป็นเวลานาน ๆ แล้ว ให้นำไข่ที่เก็บไว้นั้นไปให้แม่ไก่ฟัก (ถ้าเก็บในตู้เย็นควรนำไข่มาวางไว้ข้างนอกเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนเพื่อปรับอุณหภูมิในไข่ให้เท่ากับอุณหภูมิภายนอก)
1.7 ในระหว่างที่แม่ไก่ฟักไข่อยู่นั้น ควรจัดเตรียมอาหารและน้ำไว้ในบริเวณใกล้ ๆ ที่แม่ไก่ฟัก เพื่อป้องกันไม่ให้แม่ไก่ทิ้งรังไข่ไปหาอาหารเป็นระยะเวลานาน ๆ
1.8 เมื่อแม่ไก่ฟักไข่ได้ประมาณ 7 วัน ควรนำไข่ฟักมาส่องดูเพื่อแยกไข่ไม่มีเชื้อหรือไข่เชื้อตาย หรือไข่เน่าออกจากรังไข่

พันธุ์และการขยายพันธุ์ไก่


ไก่พื้นบ้านที่เลี้ยงกันอยู์ในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันออกไปในเรื่องของพันธุ์ และสายพันธุ์ตามสภาพท้องที่ต่าง า แต่อย่างไรก็ดีมักจะมีวัตถุประสงค์การเลี้ยงที่ เหมือน ๆ กันคือ เลี้ยงเพื่อเอาไข่และเนื้อ โดยปล่อยให้ไก่เหล่านั้นหาอาหารกินเอง ตามธรรมชาติ มีการเสริมอาหารให้บ้างเล็กน้อยไก่พื้นบ้านเหล่านี้มีสีต่างๆ กัน แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากและตลาดต้องการคือ ไก่ที่มีผิวหนังสีเหลืองและสีขนดำ

โรงเรือนไก่


เรือนโรงไก่สามารถทำเป็นเเบบง่าย ๆ ได้ โดยอาศัยวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่หรือไม้รวกเป็นต้น ขนาดของโรงเรือนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่จะ เลี้ยง และขี้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ใต้ถุนบ้านหรือ บริเวณลานบ้าน เกษตรกรบางราย สร้างเรือนโรงดังกล่าวไว้ส่าหรับเลี้ยงไก่ แต่ก็มีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ยังเลี้ยงโดย การปล่อยให้ไก่เกาะคอนนอนตามใต้ถุนบ้าน หรือตามต้นไม้ ซึ่งการเลี้ยงเช่นนี้ทำให้ การดูแลรักษาทำได้ลำบาก ก่อให้เกิดความสูญเสียมากพอสมควร
การสร้างเรือนโรงไก่จะมีจุดประสงค์หลัก ๆ ดังนี้คือ
ใช้เป็นที่กกลูกไก่แทนแม่ไก่
ให้ใก่หลบพักผ่อนในช่วงกลางคืน
เป็นที่ให้อาหารและน้ำในช่วงภาวะอากาศแปรปราน เช่น ฝนตกหนัก
ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อทำวัคซีน
ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อให้ยาหรือยาปฎิชีวนะป้องกันรักษาโรค

การสร้างเรือนโรงไก่ควรคำนึงถึงความโปร่งและให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มืดทึบและมีความสูงพื่อที่จะให้ผู้เลี้ยงเข้าออกได้สะดวกพอควร
บริเวณตัวเรือนโรงจะใช้ลวดตาข่าย แห อวนเก่า ๆ หรือไม้รวกผ่าชีกก็ ได้ นำมาปูรอบเรือนโรง นอกจากนั้นควรมีถุงปุ๋ยหรือกระสอบเก่า ๆ แต่ล้างให้ สะอาดแล้ว ส่าหรับทำเป็นม่านป้องกันลมและฝน โดยเฉพาะในระยะการกกลูกไก่ เรือนโรงที่สร้างอยู่ใต้ถุนบ้านไม่มีความจำเป็นต้องสร้างหลังคา แต่ถ้าสร้างอยู่บนลาน บ้านอาจใช้แผงจากมุงเป็นหลังคาได้

ขนาดของเรือนโรงขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ ขนาดอายุของไก่ที่จะเลี้ยง เช่น ถ้าต้องการเลี้ยงเฉพาะระยะลูกไก่จนถึงระยะไก่รุ่นที่ได้น้ำหนักระหว่าง 1.5 - 2.0 กิโลกรัม จำนวนที่จะเลี้ยงได้นั้น จะใช้สัดส่วนประมาณ 8 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตาราง เมตร ดังนั้นถ้าเรือนโรงมีขนาดกว้าง x ยาว ประมาณ 3 X 5 เมตร จะสามารถเลี้ยง ไก่ได้ประมาณ 120 ตัว แต่ถ้าต้องการเลี้ยงเป็นพ่อและแม่พันธุ์ ควรใช้ส่ดส่วน ประมาณ 4 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร ดังนั้นในเรือนโรงดังกล่าวจะสามารถเลี้ยงได้ ประมาณ 60 ตัว

การเลี้ยงไก่ชน

ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคืะอปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกริ.1่วนมากประมาณร้อยละ 70 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน

พันธุ์ประวัติ

กรมปศุสัตว์มีนโยบายด้านการวิจัย และพัฒนาพันธุ์สัตว์ปีกและเทคโนโลยีการจัดการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพ
ภูมิอากาศ และการเลี้ยงดูของเกษตรกรรายย่อยในท้องถิ่น และเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งในปัจจุบันความนิยมของผู้บริโภค
เน้นไปที่ไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ เรพาะรสชาดดีเนื้อแน่น ไขมันต่ำและเนื้อมีกลิ่นหอม ซึ่งตรงกันข้ามกับไก่เนื้อโตเร็วที่มีจำหน่ายอยู่
ทั่วไปในตลาด ดั้งนั้น กลุ่มงานสัตว์ปีก กองบำรุงพันธุ์สัตว์ จึงได้ทำการวิจัยผสมพันธุ์ไก่สามสายพันธุ์ขึ้นมา เพื่อทำเป็นสาย
แม่พันธุ์ ที่มีคุณสมบัติให้ลูกดก เจริญเติบโตเร็ว เนื้อหน้าอกเต็ม และเมื่อนำไปผสมกับพันธุ์พื้นเมืองแล้วจะให้ลูกผสมสี่สายพันธุ์
ที่มีลักษณะไม่แตกต่างกับไก่พื้นเมือง คุณภาพเนื้อทัดเทียม หรือดีกว่าไก่พื้นเมือง การวิจัยพันธุ์ได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2537
ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และวิจัยต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาสัตว์ปีกแห่งชาติ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี การวิจัยพันธุ์มีวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่ง คือ ให้เกษตรกรขยายพันธุ์เองได้ ไม่กลาย
พันธุ์ และไก่สามสายพันธุ์ยังเป็นแม่พันธุ์พื้นฐานสำหรับผสมเป็นไก่เนื้อพื้นเมืองเติบโตเร็ว ห้าสายพันธุ์ได้อีกด้วย คือ สามารถที่จะปรับเปลี่ยนสลับพ่อพันธุ์ให้ได้ลูกโตช้าโตเร็วได้ตามความต้องการ แม้แต่ไก่พันธุ์เนื้อโตเร็วก็ใช้แม่พื้นฐานสามสายพันธุ์หรือจะใช้พันธุ์สามสาย ผลิตเป็นไก่พื้นเมืองโดยตรงก็ได้ คุณภาพเนื้อแตกต่างกันเล็กน้อย แต่เจริญเติบโตเร็วกว่านำไปผสมกับไก่พื้นเมือง ซึ่งแผนการผสมพันธุ์ดังนี้


การเลี้ยงไก่
การเลี้ยงไก่พื้นเมือง
การเลี้ยงไก่ไข่
การเลี้ยงไก่ 3 สายพันธุ์
การให้อาหารและสูตรอาหารไก่ไข
การเลี้ยงสัตว์ใหญ่
การเลี้ยงโคพื้นเมือง
การเลี้ยงโคนม
การเลี้ยงโคเนื้อ
การเลี้ยงดูแม่พันธุ์โคเนื้อ
การเลี้ยงกระบือ
การเลี้ยงสัตว์เล็ก
การเลี้ยงสุกร
การเลี้ยงแกะ
การเลี้ยงแพะ
การเลี้ยงสัตว์ปีก
การเลี้ยงไก่
การเลี้ยงเป็ด - ห่าน
การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจพันธุ์ใหม่
การเลี้ยงกวาง
การเลี้ยงอูฐ
การเลี้ยงนกกระจอกเทศ
การเลี้ยงนกกระทา
การเลี้ยงนกอีมู